อี้จิง หยินหยาง

หยิน – หยาง ( 陰陽, Yin-Yang)  เป็นทฤษฏีการเข้าใจธรรมชาติ ใช้อธิบายทุกสิ่งในจักรวาล เอกภพ กาละเวลา และใช้ระบุความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งที่ตรงข้ามกันต่อต้านกัน  ขณะเดียวกันก็ควบคุมและเป็นเอกภาพแก่กัน

จุดเริ่มต้นของการศึกษาฮวงจุ้ย ดวงจีน ฤกษ์ยามล้วนแล้วมาจากการเข้าใจสัมพันธ์หยิน-หยาง การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวเนื่องตลอดเวลา และการเปลี่ยนแปลงนี้เองที่เป็นตัวกำหนดปรากฏการณ์ธรรมชาติ รวมทั้ง การก่อเกิด การเจริญเติบโตและชีวิตมนุษย์

ลักษณะ
หยาง คือ สถานะที่มีแนวโน้มที่จะแผ่ออก  ไหลขึ้นเบื้องบน และ เป็นความเคลื่อนไหว ใช้เส้นทึบเป็นสัญลักษณ์

ลักษณะหยิน คือ 
สถานะที่มีแนวโน้มที่จะะหดเข้าภายใน  ไหลลงเบื้องล่าง  และ เป็นความหยุดนิ่ง ใช้เส้นปะเป็นสัญลักษณ์

การระบุหยินและหยางเป็นจุดเริ่มต้นของการเลือกสร้างความเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบันการระบุลักษณะหยิน-หยาง มีการพัฒนามักจะนิยมใช้สัญลักษณ์อี้จิง ไตรลักษณ์(3เส้น) ฉักลักษณ์
(6เส้น) ชื่อฉักลักษณ์ เส้นที่เปลี่ยนแปลงในการคำนวนระบุเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายและชัดเจน

4 กฎของหยิน-หยาง

1.  หยิน-หยางตรงข้ามกัน (阴阳对立)            
ดวงอาทิตย์เป็นพลังหยาง ด้านที่หันหลังให้กับดวงอาทิตย์เป็นพลังหยิน แม้ว่าหยิน-หยางจะอยู่ตรงข้ามกัน แต่ต่างก็มีหน้าที่อิสระต่อกัน สิ่งที่ตรงข้ามกันจะก่อให้เกิด หรือแปรเปลี่ยนทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ได้
เช่น การเคลื่อนไหวของดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ทำให้เกิดฤดูกาล
มีผู้ชายกับผู้หญิงจึงเกิดลูกได้ 

2.  หยิน-หยางอาศัยซึ่งกันและกัน (阴阳互根)            
สรรพสิ่งในโลกนี้แม้ว่าจะตรงข้ามกัน แต่ก็ต้องอาศัยซึ่งกันและกันเพื่อความอยู่รอด และเพื่อประโยชน์ระหว่างกัน หยินพึ่งพาหยาง หยางพึ่งพาหยิน ต่างฝ่ายจะคงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อฝ่ายตรงข้ามยังคงอยู่ หยิน-หยางแยกจากกันไม่ได้ เช่น มีฟ้าจึงจะมีดิน ไม่มีฟ้าก็ไม่มีดิน มีสว่างจึงมีเงามืด มีเงามืดจึงมีสว่าง

3.  หยินหยางมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นและลง (阴阳消长)
สรรพสิ่งที่ตรงข้ามกันมีการเคลื่อนไหวในลักษณะขัดแย้งกัน ฝ่ายหนึ่งจะมีการเพิ่มขึ้น ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องลดลงเสมอ
เช่น เข้าฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน เป็นเวลาที่หยินค่อยๆลดลง หยางค่อยๆเพิ่มขึ้น
ทำให้อากาศเย็นค่อยๆอุ่นขึ้น คือ หยินลดหยางเพิ่ม (阴衰阳盛)และจากฤดูร้อนเข้าฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว  อากาศจะเปลี่ยนจากร้อนค่อยๆเย็นลง เป็นเวลาที่หยางค่อยๆลดลง หยินค่อยๆเพิ่มขึ้น คือ หยางลดหยินเพิ่ม (阴盛阳衰


4.  หยินหยางมีการแปรเปลี่ยนซึ่งกันและกัน (阴阳转化)
เมื่อหยินและหยางมีการเปลี่ยนแปลงชึ้นลงถึงระดับหนึ่ง  หยินที่เพิ่มขึ้นจะสามารถเปลี่ยนเป็นหยาง  หยางที่เพิ่มขึ้นสามารถเปลี่ยนเป็นหยินได้  คือ ร้อนจัดเปลี่ยนเป็นหนาว, หนาวจัดเปลี่ยนเป็นร้อน (热极生寒,寒极生热)   เช่น  ภาวะไข้และความร้อนสูงในร่างกายเป็นสาเหตุให้ร่างกายใช้พลังงานมากเกินปกติจนเกิดอาการตัวเย็น  มีอาการหน้าซีดขาว  แขนขาเย็น  หายใจขัด  อาการดังกล่าวนี้เป็นอาการเย็นเกินไปนั่นเอง หรือหยางเปลี่ยนเป็นหยิน


Cr. คณะการแพทย์จีน ม.หัวเฉียว

หยิน-หยาง /ร่างกาย

โครงสร้างร่างกายกับยินและหยาง (人的组织结构)  ส่วนต่างๆของร่างกาย จำแนกเป็นหยิน-หยางได้ดังนี้
            - ร่างกายส่วนบน เป็นหยาง  ส่วนล่าง เป็นยิน
            - ร่างกายส่วนนอก เป็นหยาง  ส่วนใน เป็นยิน
            - ด้านหลังของร่างกาย เป็นหยาง  ด้านหน้า เป็นยิน

อวัยวะภายในจำแนกตามการทำหน้าที่เป็น

1. อวัยวะตันทั้ง 5(五脏)ได้แก่ หัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต  เป็นยิน เพราะทำหน้าที่เก็บสะสมสารจำเป็น (หยุดนิ่ง)  
โดยที่ในอวัยวะตันทั้ง 5 ก็ยังจำแนกย่อยออกได้ ระบุว่า หัวใจและปอด เป็นหยาง (อยู่ด้านบน ในช่องอก)  ส่วนม้าม ตับ และไต เป็นยิน (อยู่ด้านล่าง ในช่องท้อง)

2. อวัยวะกลวงทั้ง 6 (六腑)ได้แก่ ถุงน้ำดี กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ซานเจียว เป็นหยาง  เพราะทำหน้าที่ย่อย ระบาย ขับถ่าย (มีการเคลื่อนไหว)
 
3. ระบบเส้นลมปราณ (经络) จำแนกเส้นลมปราณหลักเป็นยิน  เส้นลมปราณย่อยเป็นหยาง เป็นต้น

4.เลือดและพลังลมปราณ (血气) จำแนกเลือดเป็นยิน พลังลมปราณเป็นหยาง เป็นต้น



หมายเหตุ 
1. การระบุหยินหยาง เป็นกฎพื้นฐานที่พึ่งกระทำก่อนตรวจดวงจีน ตรวจฮวงจุ้ย
2. หลักเบญจธาตุ เกิดขึ้นจากการเข้าใจการเปลี่ยนแปลง (
阴阳转化)
3. การจัดฮวงจุ้ยย่อมมีความเสี่ยงเสมอ ในหยินมีหยางและในหยางมีหยิน 
4. แพทย์แผนจีนถือเป็นหนึ่งในวิชาอู่ฝู ศาสตร์แห่งการสร้างความเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การจัดฮวงจุ้ยเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ จึงควรพบแพทย์ควบคู่กันเสมอ