วิธีการจัดฮวงจุ้ยห้องนอนให้สุขภาพดี
แก้ปัญหาการนอนไม่หลับ

ปัญหาการนอนไม่หลับ เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ด้วยฮวงจุ้ยและการแพทย์แผนจีนโดยจะเน้นการปรับพื้นที่ห้องนอน และพฤติกรรมก่อนนอน

การนอนหลับเป็นการปรับสมดุลอวัยวะและกล้ามเนื้อที่ใช้งานมาตลอดทั้งวันให้ได้พักผ่อน กลไกลซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ กำจัดสารพิษทำงาน แต่ในกรณีที่

Checklist ปัญหาฮวงจุ้ยห้องนอน

  • นอนทับเส้นสูญสิ้น เส้นสูญ
  • นอนทิศหัวนอน ทิศห้องนอน พิฆาต ไม่ส่งเสริมการนอน
  • มีการวางพัดลม แอร์ ทำให้เกิดการเคลื่อนพลังชี่ที่ไม่ส่งเสริม
  • มีเครื่องใช้ไฟฟ้า หลอดไฟ ที่ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานพิฆาต
  • วางตำแหน่งเตียง หัวนอน ที่นอนมีศรพิฆาตทั้งภายในภายนอก
  • ผ้าปูที่นอน หมอนผ้าห่ม ไม่ส่งเสริมการรับพลังงานหยินที่แฝงหยาง
หมายเหตุ
1. การจัดฮวงจุ้ยที่ถูกต้องสมบูรณ์จะมีองค์ประกอบครบ ฟ้า-คน-ดิน
2. คนดี มีคุณธรรม ขยัน มานะ อดทน พัฒนาตัวเอง ทำดี ต้องได้ดี
3. 
หากต้องการให้เห็นผลชัดเจนควรเน้นฮวงจุ้ยเฉพาะบุคคล 
​4. การจัดฮวงจุ้ยมีควรอยู่ในความดูแลของผู้ชำนาญผู้จัดมีความรับผิดชอบ
วิธีการอ่านฮวงจุ้ยจากดวงจีนแปดช่อง
Поле не заполнено
Поле не заполнено
Поле не заполнено
Поле не заполнено
Поле не заполнено
Поле не заполнено

8 เทคนิคเตรียมตัวก่อนนอน (แพทย์แผนจีน)

1. ใจสงบก่อนเข้านอน 
สมัยราชวงศ์ถัง ซุนซือเมี่ยว孙思邈 ก็ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์《千金方》กล่าวว่า “能息心,自瞑目” ถ้าพักผ่อนหัวใจได้ ตาก็จะหลับได้เอง

การคิดมากจะทำให้เสินหัวใจไม่สงบ ทำให้เข้านอนยาก ดังนั้น กิจกรรมช่วงก่อนนอนประมาณ 2 ชั่วโมงควรเป็นกิจกรรมที่ผ่อนคลายและไม่กระตุ้นให้เกิดความเครียดหรือคิดมาก ลดการอ่านข่าว ลดแสงฟ้าและหรี่ไฟก่อนนอน

2. ไม่ควรกินอาหารจนอิ่มเกินไปก่อนเข้านอน
สมัยราชวงศ์หมิง อ๋าวหยิง (敖英) ได้กล่าวไว้ในตำรา《东谷赘言》ว่า 
“一者大便数,二者小便数,三者扰睡眠,四者身重不堪修养,五者多患食不消化” เมื่อเรากินมาก ก็จะเกิดการป่วยทั้ง 5 คือ
1. ถ่ายมาก
2. ปัสสาวะบ่อย
3. นอนไม่หลับ
4. น้ำหนักเพิ่มมากเกินไป            
5. อาหารที่กินไปส่วนใหญ่ไม่ย่อย


3. เดินออกกำลังเล็กน้อย เพื่อให้นอนหลับสนิท
ในสมัยราชวงศ์ชิง
《养生随笔》ได้บอกว่า “绕室行干步,始就枕” แนะนำให้ เคลื่อนไหวเล็กน้อยช่วยให้สามารถเข้านอนแล้วนอนหลับสนิทได้

4. ล้างเท้าหรือแช่เท้าด้วยน้ำอุ่น
ซูตงโพ (苏东坡) กล่าวว่า
”主人劝我洗足眠,到床不复闻钟鼓 เมื่อล้างเท้าก่อนนอน ถึงเตียงก็ไม่ได้ยินเสียงกลองแล้ว

5. เวลาในการเข้านอน
ควรเข้านอนก่อนช่วง จื่อสือ (子时) เข้านอนก่อน 5 ทุ่ม เพราะช่วง 5 ทุ่ม ถึง ตี 1 เป็นช่วงเวลาที่ อินหยางมีการแลกเปลี่ยนกัน และเป็นเวลาที่มีอินชี่มากที่สุด เวลานี้ควรพักผ่อนจึงสามารถบำรุงอินได้ดีที่สุดและให้ประสิทธิภาพการนอนหลับที่ดีที่สุด การนอนดึก ธาตุน้ำของไตจะพร่อง หัวใจและไตทำงานไม่ประสาท น้ำพร่องไม่สามารถสงบไฟที่รุนแรงได้ จะทำลายเสิน (神) ได้ง่าย และควรเข้านอนเวลาเดิมทุกวันเพื่อให้เป็นกิจวัตรจะช่วยให้เข้านอนได้ง่ายขึ้น

6. เลือกหมอนที่เหมาะสมกับสรีระ
หมอนที่ใช้หนุนนอนนั้นก็ ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับได้ เช่น ความสูงและความนิ่มของหมอน จากตำรา《养生随笔》กล่าวว่า “หมอนสูงประมาณ 1 นิ้ว นอนตะแคง ไหล่สองฝั่งเท่ากัน แม้นอนหงายก็หลับได้สบาย” (枕) 酌高下尺寸,令侧卧恰与肩平,即仰卧亦觉安适”) ระดับความสูงของหมอนที่ดีจึงควรสูงประมาณ 1 นิ้ว ให้สามารถนอนตะแคงไม่ทับไหล่ ความนิ่มไม่แข็งเกินไปและนิ่มจนเกินไป

7. ท่านอนที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
สมัยราชวงศ์ถัง ซุนซือเมี่ยว (孙思邀) กล่าวว่า “屈膝侧卧,益人气力,胜正僵卧” คือ ท่านอนที่เหมาะสมคือท่านอนตะแคงงอเข่า ซึ่งควรนอนก่ายหมอนข้าง เพื่อให้ขาข้างที่นอนตะแคงขึ้นตกลงและกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกเหยียดตัวนานเกินไป

การนอน บำรุงพลังชี่มนุษย์

การนอนหลับจึงถือเป็นอีกหนึ่งกิจวัตรที่จำเป็นอย่างมาก ดั่งที่ หลี่หยู (李渔สมัยราชวงศ์ซ่ง) ได้พูดถึงการนอนหลับไว้ในตำรา《笠翁文集》“养生之诀,当以善睡居先。睡能还精,睡能养气,睡能健脾益胃,睡能坚骨强筋” คือ”การฟื้นฟูร่างกายจะต้องเริ่มจากการนอนหลับที่สนิท การนอนหลับทำให้สารจำเป็น (จิง) ถูกเก็บกลับ การนอนหลับสามารถบำรุงชี่ การนอนหลับสามารถบำรุงม้ามเสริมกระเพาะอาหาร การนอนหลับสามารถทำให้กระดูกและเส้นเอ็นแข็งแรง”  ทางการแพทย์แผนจีน การหลับสบาย “善睡” หลับลึก หลับสนิทไม่ตื่นกลางดึก ตื่นมาในตอนเช้ารู้สึกสดชื่อนมรพลังงาน สามารถช่วยส่งเสริมสุขภาพ และทำให้อายุยืนได้      

ข้อมูลเพิมเติมเกี่ยวกับ "การนอนหลับเพื่อสุขภาพ"
ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
การนอนหลับ ถือเป็นกระบวนการทางสรีรวิทยาพื้นฐานตามธรรมชาติ ที่สอดคล้องตามจังหวะหรือนาฬิกาทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต เพื่อไปซ่อมแซมและฟื้นฟูหน้าที่การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้เจริญเติบโต แข็งแรงเป็นปกติ

ศาสตร์การแพทย์แผนจีน กล่าวว่า กลไกการตื่นและนอนหลับเป็นไปตามการเพิ่มขึ้นและลดลงของอินและหยาง กล่าวคือ อินเพิ่มขึ้นมากจะทำให้นอนหลับ หากหยางเพิ่มขึ้นมากจะทำให้ตื่น (阴气盛则寐 (入眠),阳气盛则寤 (醒来)

คัมภีร์โบราณของการแพทย์แผนจีน "หลิงซู" มีการระบุถึงวิถีการนอนหลับเพื่อสุขภาพเอาไว้ว่า 

《灵枢》 “人与天地相参也,与日月相应也”
“มนุษย์อยู่ร่วมฟ้าดิน เป็นหนึ่งเดียว
แปรเปลี่ยนสอดคล้องกับดวงอาทิตย์และพระจันทร์”

หมายถึง จักรวาลภายนอกและภายในร่างกายของเรานั้นเป็นหนี่งเดียว มีเพียงการดำเนินชีวิตสอดคล้องกับธรรมชาติเท่านั้น จึงเป็นหนทางแห่งการมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ ความต้องการในการนอนหลับของคนเราจึงขึ้นอยู่กับช่วงอายุ ยิ่งอายุน้อยยิ่งต้องนอนหลับมาก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระยะเวลาหรือจำนวนชั่วโมงเฉลี่ยของการนอนที่เหมาะสมสำหรับวัยผู้ใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 7 - 8 ชั่วโมงต่อวัน

ความต้องการในการนอนหลับยังมีความแตกต่างตามเพศ พื้นฐานร่างกาย อุปนิสัย ฤดูกาล และสภาพแวดดล้อม อย่างเช่น เพศหญิงต้องการชั่วโมงการนอนที่มากกว่าเพศชาย เนื่องจากในทางแพทย์แผนจีนกล่าวว่า เพศหญิงเป็นอิน ซึ่งใช้อินและเลือกขับเคลื่อนการทำงานของร่างกาย เมื่ออินมากจึงทำให้นอนหลับมาก ส่วนในกลุ่มคนที่มีพื้นฐานร่างกาย "หยางมาก" และ "อินพร่อง" มักมีความต้องการจำนวนชั่วโมงการนอนที่ค่อนข้างน้อย ส่วนในคนที่ "มีเสมหะความชื้นคั่งค้าง" และ "เลือดไหลเวียนติดขัดคั่งค้าง" มักมีความต้องการจำนวนชั่วโมงการนอนที่ค่อนข้างมาก


เวลานอน


จำนวนชั่วโมงการนอนที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคน มีความแตกต่างกันไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับคุณภาพในการนอนหลับ ยิ่งการนอนหลับมีคุณภาพสูง จำนวนชั่วโมงการนอนที่สะสมก็ยิ่งลดลง จำนวนชั่วโมงการนอนจะพอเพียงหรือไม่สามารถดูได้จากเวลาตื่นนอนร่างกายเบาสบาย จิตใจปลอดโปร่ง มีชีวิตชีวิ ตอนกลางวันสมองแจ่มใส ทำงานมีประสิทธิภาพ ไม่ง่วง ไม่อ่อนเพลีย

เวลาเข้านอนที่เหมาะสม ในศาสตร์การแพทย์แผนจีนได้ระบุไว้ว่า  “ 天人合一 ”  คือ มนุษย์เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ โดยช่วงเวลาเข้านอนและตื่นนอนที่เหมาะสมจะต้องสอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ นั้นคือ พระอาทิตย์ขึ้นเราตื่น - พระอาทิตย์ตกเราพัก ดังนั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมของการตื่นและเข้านอน คือ ช่วงเวลาระหว่าง 5.00 - 21.00 น. ซึ่งในคัมภีร์ฯ ยังได้กล่าวอีกว่า การนอนก่อนเวลา 23.00 น. ถือเป็นเวลาเข้านอนที่ดีที่สุด เนื่องจากการนอนหลับในช่วงเวลาที่พลังอินมากสุดจะทำให้หลับสนิทและหลับลึก ซึ่งช่วงเวลาที่อินสูงสุดอยู่ในช่วงเวลา 23.00-1.00 น.(子时)

    ช่วงเวลา 21.00 - 23.00 น. เป็นเวลาของเส้นลมปราณซานเจียว ซึ่งซานเจียวจะเชื่อมต่อกับเส้นเลือดทั่วร่างกาย หากเราเริ่มเข้านอนในเวลานี้ หลอดเลือดทั่วร่างกายก็จะได้การหล่อเลี้ยง และการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพยังช่วยทำให้ผิวพรรณของเรางดงามและอ่อนเยาว์ขึ้นอีกด้วย

    ช่วงเวลาระหว่าง 23.00 - 3.00 น. เป็นเวลาของเส้นลมปราณตับและถุงน้ำดี ถือเป็นช่วงเวลาทองของการนอนหลับเพื่อซ่อมแซมฟื้นฟูร่างกาย และเพื่อให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่ตับอย่างเพียงพอ และรักษาการทำงานของตับและถุงน้ำดีให้ทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ระยะเวลาดังกล่าวยังเป็นช่วงที่ Growth hormones หลั่งได้ดีที่สุด ซึ่งฮอร์โมนนี้ จะทำให้ร่างกายหลับลึกและได้รับการพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ และช่วยให้การซ่อมแซมฟื้นฟูร่างกายเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

มาตรฐานการนอนหลับที่ถือว่ามีคุณภาพ

1. เข้าสู่สภาวะนอนหลับได้เร็ว หลังจากเข้านอน 5 - 15 นาที
2. นอนหลับสนิทและหลับลึก หายใจสม่ำเสมอ ไม่มีเสียงกรน ไม่สะดุ้งตื่นง่าย
3. ไม่ตื่นในช่วงระหว่างการนอนหลับ ฝันน้อย ไม่ตกใจตื่นจากความฝัน
4. ตื่นนอนไว และตื่นตอนเช้าร่างกายรู้สึกเบาสบาย จิตใจปลอดโปร่งมีชีวิตชีวา
5. สมองแจ่มใสตลอดทั้งวัน การทำงานมีประสิทธิภาพ ไม่ง่วง ไม่อ่อนเพลีย

การนอนหลับเพื่อบำรุงสุขภาพ

ช่วงที่หยางเพิ่มสูงที่สุด คือ ช่วงกลางวัน เวลา 11.00 - 13.00 น. (午时) ถือเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนผ่านจากหยางไปสู่อิน จึงควรงีบหลับสั้น ๆ เพียง 15 นาที - 1ชม. จะช่วยบำรุงพลังลมปราณหยาง และปกป้องบำรุงพลังลมปราณอิน รวมถึงปรับสมดุลอินหยางในร่างกาย

ช่วงที่อินเพิ่มสูงที่สุด คือ ช่วงกลางคืน เวลา 23.00 - 1.00 น. (子时) ถือเป็นเวลาที่เหมาะสมกับการนอนหลับมากที่สุด เพราะ เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านจากอินไปสู่หยาง และการเข้านอนก่อน 23.00 และนอนหลับสนิทในช่วงเวลานี้จะช่วยบำรุงพลังลมปราณอิน (อินชี่) ปกป้องบำรุงพลังลมปราณหยาง (หยางชี่)

 

子时大睡 ,午时小憩
ช่วงอินสูงสุดควรนอนหลับให้เพียงพอ,
ช่วงหยางสูงสุดควรงีบหลับสักเล็กน้อย